ประวัติความเป็นมาของบริษัท
![]() ![]() |
บริษัทฯ จดทะเบียนจัดตั้งเริ่มแรกเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2555 ตามมติของคณะกรรมการบริษัท ไทยโพลีคอนส์ จำกัด (มหาชน) (“TPOLY”) ที่ให้มีการจัดตั้งบริษัทแห่งใหม่เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยให้บริษัทฯ รับโอนการถือหุ้นในบริษัทย่อยดังกล่าวทั้งหมดที่ TPOLY ถืออยู่ในขณะนั้นและกำหนดให้บริษัทฯ เป็นแกนนำในการลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้าทั้งหมดในอนาคตแทน TPOLY ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557 บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนและเรียกชำระเริ่มต้นจาก TPOLY จำนวน 153,000,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 15.3 ล้านหุ้น ตามมูลค่าที่ตราไว้ (par value) 10 บาทต่อหุ้น โดยได้รับชำระค่าหุ้นเป็นหุ้นของบริษัทย่อยที่TPOLY ถือหุ้นอยู่เดิมตามมูลค่าที่ตราไว้ของบริษัทย่อยตามสัดส่วนการถือหุ้นเดิม ได้แก่ 1) บริษัท ช้างแรก ไบโอเพาเวอร์ จำกัด ("CRB") โดยถือหุ้นร้อยละ 65.0 (ปัจจุบันสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯ ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาเป็นร้อยละ 73.1) |
|
2) บริษัท ทุ่งสัง กรีน จำกัด ("TSG") โดยถือหุ้นร้อยละ 65.0 3) บริษัท บางสะพานน้อย ไบโอแมส จำกัด ("BBRP") โดยถือหุ้นร้อยละ 85.0 ปัจจุบันได้จดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วนั้น (ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีบริษัทใดที่เริ่มดำเนินการในเชิงพาณิชย์ มีเพียง CRB ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในขณะที่ TSG อยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง) โดยภายหลังการปรับโครงสร้างการถือหุ้นดังกล่าว TPOLY มีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ 100.00 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนจาก 210,550,000 บาท เป็น 310,550,000 บาท โดยเสนอขายหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 10 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 33 บาท (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้มาลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัทย่อยที่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ("PPA") ซึ่งในขณะนั้นได้แก่ บริษัท มหาชัย กรีน เพาเวอร์ จำกัด ("MGP") บริษัท ทุ่งสัง กรีน จำกัด ("TSG") และ บริษัท บางสะพานน้อย ไบโอแมส จำกัด ("BBRP") ทั้งนี้ TPOLY ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100.00 ได้สละสิทธิในการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน เนื่องจากมีข้อจำกัดทางการเงินที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้ โดยผู้ถือหุ้นอื่นได้ใช้สิทธิการซื้อหุ้นตามสิทธิและเกินสิทธิ ส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับเงินเพิ่มทุนครบจำนวน 330,000,000 บาท |
||
|
||
บริษัท บางสะพานน้อย ไบโอแมส จำกัด (“BBRP”) มีการจดทะเบียนเลิกบริษัท โดยเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2557 ได้มีมติหยุดดำเนินกิจการพร้อมทั้งศึกษาแนวทาง ขั้นตอน ผลกระทบของการเลิกกิจการเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลิกกิจการในอนาคต (วันที่ 22 สิงหาคม 2557 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 3/2557 ได้อนุมัติการลดทุนของบริษัทโดยการลดจำนวนหุ้นลง 3 ใน 4 ส่วน จากเดิม 1,000,000 หุ้น เหลือ 250,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ลดตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้นแต่ละราย วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 ประชุมกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2558 ได้มีมติให้เลิกกิจการและจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น วันที่ 3 เมษายน 2558 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2558 ได้พิจารณาแล้วมีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติให้เลิกบริษัท ในปี 2559 CRB ได้รับอนุมัติเปลี่ยนระบบซื้อขายไฟฟ้าจากระบบ Adder เป็น ระบบ Feed-in-Tariff มีผลกำหนดใช้เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2559 ในขณะที่บริษัทอีก 2 แห่งได้เริ่มดำเนินการขายไฟในเชิงพาณิชย์ คือ บริษัท มหาชัย กรีน เพาเวอร์ จำกัด ("MGP") เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2559 และ บริษัท ทุ่งสัง กรีน จำกัด ("TSG") เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2559 นอกจากนั้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2559 บริษัทฯยังได้ชนะการประมูลเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกสำหรับการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตขนาดเล็กมาก ประเภทเชื้อเพลิงชีวมวลในแบบ Feed-in-Tariff ในระยะที่ 1 สำหรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา โดยบริษัทได้รับคัดเลือกทั้งหมด 3 โครงการดังนี้ บริษัท ทีพีซีเอช เพาเวอร์ 1 จำกัด มีกำลังการผลิตเสนอขายเท่ากับ 9.2 เมกะวัตต์, บริษัท ทีพีซีเอช เพาเวอร์ 2 จำกัด มีกำลังการผลิตเสนอขายเท่ากับ 9.2 เมกะวัตต์, และ บริษัท ทีพีซีเอช เพาเวอร์ 5 จำกัด มีกำลังการผลิตเสนอขายเท่ากับ 6.3 เมกะวัตต์ รวมทั้งสิ้น 24.7 เมกะวัตต์ ส่วนในเรื่องของพลังงานหมุนเวียนประเภทอื่นนอกเหนือจากพลังงานชีวมวล |
บริษัทฯได้ทำการซื้อหุ้นของบริษัท สยาม พาวเวอร์ จำกัด (“SP”) จำนวน 20,000,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนของบริษัท สยาม พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตบริหารจัดการระบบการนำขยะมูลฝอยมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า มีกำลังการผลิตเสนอขายเท่ากับ 8 เมกะวัตต์ที่กำลังอยู่ระหว่างการขอใบอนุญาต อีกทั้งบริษัทฯยังได้ร่วมลงทุนใน บริษัท พีเอ เวสต์แอนด์เอเนอร์จี จำกัด (“PA”) ประกอบธุรกิจผลิตบริหารจัดการระบบการนำขยะมูลฝอยมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง ในปี 2560 โรงไฟฟ้าของ บริษัท พัทลุง กรีน เพาเวอร์ จำกัด มีกำลังการผลิตเสนอขายเท่ากับ 9.2 เมกะวัตต์ (PGP) ได้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 ในระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff) ในปี 2563 โรงไฟฟ้าของ บริษัท ปัตตานี กรีน เพาเวอร์ จำกัด ได้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 มีกำลังการผลิตเสนอขายเท่ากับ 21 เมกะวัตต์ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ("กฟผ.") ในระบบ Adder โดย ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 บริษัทฯ มีโครงการที่ดำเนินการขายไฟในเชิงพาณิชย์ทั้งหมด 7 แห่ง ได้แก่ CRB, MWE, MGP, TSG, PGP, SGP และ PTG รวมมีกำลังการผลิตเสนอขายเท่ากับ 73.8 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 3 แห่งได้แก่ TPCH1, TPCH2, และ TPCH5 รวมมีกำลังการผลิตเสนอขายเท่ากับ 24.7 เมกะวัตต์ และมีโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1 แห่งได้แก่ SP มีกำลังการผลิตเสนอขายเท่ากับ 8.0 เมกะวัตต์ รวมมีกำลังการผลิตเสนอขายทั้งสิ้นเท่ากับ 106.5 เมกะวัตต์ |