Risk Factors

หน้าหลัก 9 Risk Factors

การพัฒนาที่ยั่งยืน

Risk Factors

facesheet

การลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทฯ มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาและพิจารณาอย่างรอบคอบในเรื่องปัจจัยความเสี่ยงซึ่งอาจมีผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน หรือมูลค่าหุ้นสามัญของบริษัทฯ ทั้งนี้ ปัจจัยความเสี่ยงที่ระบุไว้ในเอกสารฉบับนี้เป็นความเสี่ยงที่บริษัทฯ ประเมินไว้ตามสถานการณ์และข้อมูลที่มีในปัจจุบัน โดยอาจมีปัจจัยความเสี่ยงอื่นที่ไม่เป็นนัยสำคัญในปัจจุบันที่อาจเป็นปัจจัยความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ ในอนาคตได้

นอกจากนี้ ข้อความในลักษณะที่เป็นการคาดการณ์อนาคตที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ เช่น การใช้ถ้อยคำว่า“เชื่อว่า” “คาดว่า” “เห็นว่า” “อาจ” หรือ “อาจจะ” เป็นต้น หรือคำหรือข้อความอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันหรือการคาดการณ์เกี่ยวกับแผนการประกอบธุรกิจ ผลการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการประกอบธรุ กิจของบริษทั ฯ นโยบายของรัฐบาล และอื่นๆ เป็นการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากการคาดการณ์หรือคาดคะเนได้

ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุนของผู้ลงทุน และแนวทางในการลดผลกระทบ บริหาร หรือป้องกันความเสี่ยงสามารถสรุปได้ดังนี้

1.ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ

จากการที่บริษัทฯ มีลักษณะการประกอบธุรกิจหลักลงทุนในบริษัทอื่น (Holding Company) รายได้หลักจึงเป็นเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการดำเนินการของบริษัทเหล่านี้เป็นสำคัญโดยปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนในบริษัทอื่นทั้งหมด 13 แห่ง ประกอบกับเป้าหมายของบริษัทฯ ที่จะมีการลงทุนในโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องในธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จึงมีความเป็นไปได้ว่าบริษัทฯ อาจจะมีบริษัทย่อยเพิ่มเติมอีกในอนาคต ซึ่งการลงทุนในแต่ละโครงการทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของกลุ่มบริษัทฯ ดังนี้

1. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้รับจ้างดำเนินการโรงไฟฟ้า

ปัจจุบันบริษัทฯ มีการว่าจ้างบริษัท Outsource มาเป็นผู้บริหารโรงไฟฟ้าตามสัญญาจ้างเดินเครื่องและบำรุงรักษารวมทั้งการจัดหาเชื้อเพลิง สำหรับโครงการ CRB TSG และตามสัญญาจ้างเดินเครื่องและบำรุงรักษา สำหรับโครงการ PGPSGP PTG TPCH1 TPCH2 TPCH5 เนื่องจากมีบุคลากรที่มีประสบการณ์การลงทุนในโรงไฟฟ้าชีวมวล และมีความชำนาญเกี่ยวกับการดำเนินการของโรงไฟฟ้าชีวมวล รวมทั้งการควบคุมและดูแลรักษาเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล ตลอดจนมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าและเชื้อเพลิงซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งหากการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าเกิดจากผู้ที่ไม่มีความชำนาญหรือไม่มีประสบการณ์อาจเกิดความเสียหายต่อโรงไฟฟ้า อาจส่งผลกระทบต่อรายได้และผลประกอบซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อบริษัทฯ

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ตระหนักถึงความเสี่ยงของการพึ่งพิงดังกล่าว โดยยึดหลักปฏิบัติกับคู่ค้าตามนโยบายการปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติที่ดี (Code of Best Practices) ที่บริษัทฯ กำหนดไว้ โดยกำหนดเงื่อนไขในสัญญาจ้างเดินเครื่องให้เหมาะสม ในขณะเดียวกันสามารถสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดประโยชน์กันทั้ง 2 ฝ่ายได้ เช่น การกำหนดค่าตอบแทนให้กับผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้า (Operator) ตามสัญญาจ้างเดินเครื่องและบำรุงรักษา ซึ่งผันแปรตามรายได้ค่าไฟฟ้าสุทธิ โดยกำหนดเป้าหมายขั้นต่ำในการผลิต โดยหากผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้า (Operator) ผลิตไฟฟ้าได้เกินกว่าเป้าหมาย ก็จะมีค่าตอบแทนส่วนเพิ่มให้แก่ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้า (Operator) เพื่อเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และ ยังสามารถมีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นจากหน่วยผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ในทางกลับกันหากผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้า (Operator) ผลิตไฟฟ้าต่ำกว่าเป้าหมายก็จะมีค่าปรับเกิดขึ้นเพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบไม่ให้เสียประโยชน์ เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ มีขบวนการติดตามดูแลผลการปฏิบัติงานของผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้า (Operator) ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงเงื่อนไขสัญญาได้ บริษัทฯ มีแผนที่จะสรรหาบุคลากรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญจากภายนอกหรือฝึกอบรมบุคลากรของบริษัทฯ ในระหว่างที่สัญญากับ ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้า (Operator) ยังไม่สิ้นสุดลงให้สามารถปฏิบัติงานทดแทนการทำงาน ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้า (Operator)

ปัจจุบัน บริษัทฯ ไม่ได้กำหนดรูปแบบการดำเนินการโรงไฟฟ้ารูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง โดยจะพิจารณาความเหมาะสมของแต่ละโครงการว่าจะเลือกดำเนินโครงการเองหรือจะจัดจ้างผู้ดำเนินโครงการเป็นสำคัญ นอกจากนั้น เพื่อลดการพึ่งพิงผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้า (Operator) บริษัทฯ ได้จัดจ้างวิศวกรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลเพื่อดำเนินการโรงไฟฟ้าชีวมวล MGP และ MWE ทั้งนี้การที่บริษัทย่อยของบริษัทฯ มีการบริหารโรงไฟฟ้าได้เองจะสามารถนำมาประเมินเปรียบเทียบ และช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับบริษัทฯ ว่าในอนาคตบริษัทฯ จะสามารถดำเนินการโรงไฟฟ้าชีวมวลเองได้ และลดการพึ่งพิงผู้รับจ้างดำเนินการโรงไฟฟ้าภายนอกลง

2. ความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิง

  1. ความเสี่ยงจากความเพียงพอของเชื้อเพลิง

    เชื้อเพลิงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการดำเนินธุรกิจไฟฟ้าชีวมวล การขาดแคลนเชื้อเพลิงหรือการไม่สามารถจัดหาเชื้อเพลิงได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่องในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า จะส่งผลให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เต็มกำลังการผลิต หรือหยุดชะงัก โดยโรงไฟฟ้าของบริษัทฯ ใช้เชื้อเพลิงประเภทชีวมวล ได้แก่ แกลบ ทะลายปาล์ม มะพร้าวสับ และไม้ยางพารา ฯลฯ เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า มีความเสี่ยงในเรื่องของปริมาณและราคาของเชื้อเพลิง เนื่องจากเป็นผลิตผลทางการเกษตรกรรม ซึ่งแต่ละโครงการอาจใช้เชื้อเพลิงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ภูมิอากาศ พืชเศรษฐกิจในบริเวณใกล้เคียง ความเพียงพอของเชื้อเพลิงในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงไฟฟ้าที่มิได้เป็นเจ้าของแหล่งเชื้อเพลิงเอง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้และผลตอบแทนของโครงการ หรืออาจเสียค่าปรับได้ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้และความสามารถจ่ายเงินปันผลมายังบริษัทฯ ในที่สุด

    บริษัทฯ ตระหนักถึงผลกระทบและกำหนดแนวทางลดความเสี่ยงดังกล่าว โดยก่อนที่บริษัทฯ จะเริ่มลงทุนและพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล บริษัทฯ จะเข้าไปทำการศึกษาความเพียงพอของปริมาณเชื้อเพลิงโดยการเข้าไปสำรวจปริมาณเชื้อเพลิงในรัศมีที่สามารถขนส่งได้รอบโรงไฟฟ้าว่ามีปริมาณเชื้อเพลิงเพียงพอต่อความต้องการของโรงไฟฟ้าชีวมวลหรือไม่ ทั้งนี้ บริษัทฯ กำหนดให้โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัทย่อย มีโกดังเก็บเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ไว้ในบริเวณโรงไฟฟ้า และมีพื้นที่โล่งว่างที่สามารถเก็บเชื้อเพลิงในปริมาณมากไว้ได้ เพื่อใช้ในการสำรองเชื้อเพลิงในช่วงที่ขาดแคลน โดยบริษัทฯ มีนโยบายที่จะสำรองเชื้อเพลิงไว้ในโกดังอย่างต่ำ 15 วัน ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาว่าจ้างเดินเครื่องกับ VSPP

    นอกจากนี้บริษัทฯ กำหนดกลยุทธ์ในการเข้าถึงแหล่งเชื้อเพลิง โดยการจัดจ้างผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้า (“Operator”) ซึ่งมีขอบเขตบริการครอบคลุมการจัดหาเชื้อเพลิงให้เพียงพอสำหรับการดำเนินการโรงไฟฟ้าตลอดอายุสัญญาโดยบริษัทฯ จะพิจารณาว่าผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้ามีความสามารถที่จะเข้าถึงแหล่งเชื้อเพลิง และสามารถผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าได้ตามที่สัญญาในการจัดจ้างผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้ากำหนด ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าของ CRB และTSG หรือบริษัทฯ อาจให้บริษัทย่อยทำสัญญาซื้อขายเชื้อเพลิงระยะยาวกับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของเชื้อเพลิง ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ร่วมลงทุนโครงการโรงไฟฟ้ากับเจ้าของเชื้อเพลิงโดยตรงได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าของ MGP PGP SGP PTG TPCH1 TPCH2 TPCH5 PBB และPBMเพื่อสามารถเข้าถึงแหล่งเชื้อเพลิงขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับป้อนให้กับโรงไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทฯมีนโยบายสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าของเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการจัดหาเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอในระยะยาว

  2. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาเชื้อเพลิง

    ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงเป็นต้นทุนที่มีสัดส่วนสูงที่สุดสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล หากราคาเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจะส่งผลกระทบต่อกำไร และผลตอบแทนของโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน บริษัทฯ มีการบริหารความเสี่ยงด้านราคาเชื้อเพลิง โดยให้ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้า (“Operator”) รับผิดชอบในการจัดหาเชื้อเพลิง ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาว่าจ้างเดินเครื่อง อย่างไรก็ตามจากข้อมูลการดำเนินการที่ผ่านมาราคาของเชื้อเพลิงได้มีการเปลี่ยนแปลงผันผวนอย่างมีนัยสำคัญแต่ยังไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อบริษัทมาก โดยบริษัทฯ มีนโยบายในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของราคาเชื้อเพลิงอย่างสม่ำเสมอ หากช่วงเวลาใดที่เชื้อเพลิงหลักมีปริมาณมากและราคาต่ำ บริษัทฯ จะแจ้งให้ผู้บริหารโรงไฟฟ้าทำการซื้อเชื้อเพลิงในปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากโครงการโรงไฟฟ้าของบริษัทฯ มีพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับเก็บเชื้อเพลิงทั้งในร่ม และกลางแจ้ง

    นอกจากนี้ การผสมประเภทของเชื้อเพลิงใช้ในการผลิต เป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการต้นทุน เช่น ราคาตอไม้ยางพาราจะถูกกว่าราคาปีกไม้ ดังนั้น โรงไฟฟ้าของบริษัทฯ ได้มีการปรับสัดส่วนมาใช้ตอไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิง เป็นต้น และหากกรณีที่เชื้อเพลิงหลักมีราคาสูงมากและไม่คุ้มค่าในการผลิต บริษัทฯ อาจพิจารณาเลือกใช้เชื้อเพลิงประเภทอื่นที่สามารถใช้กับเตาเผาของโรงไฟฟ้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากบริษัทฯพิจารณาเลือกเทคโนโลยีเครื่องจักรที่สามารถใช้เชื้อเพลิงได้หลายประเภท เพื่อกระจายความสี่ยงเรื่องเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า

  3. ความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำดิบในการผลิตไฟฟ้า

    แหล่งน้ำถือเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจไฟฟ้าชีวมวล ความเสี่ยงจากการขาดแคลน นํ้าดิบอาจส่งผลให้การผลิตกระแสไฟฟ้าหยุดชะงัก ซึ่งสาเหตุอาจมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในบางปีอาจเกิดปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติ หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ดังนั้น โรงไฟฟ้าของบริษัทฯ จะมีการประเมินปริมาณการใช้น้ำในแต่ละปีตามแผนการผลิต วิเคราะห์สถานการณ์น้ำ วางแผนการใช้น้ำในแต่ละโรงไฟฟ้า รวมทั้งให้มีการสำรองน้ำไว้ใช้ในยามฉุกเฉินเช่น การขุดบ่อบาดาล และมีอ่างเก็บน้ำสำรองที่สามารถเก็บน้ำได้จำนวนมากเพียงพอ สามารถใช้ดำเนินการผลิตไฟฟ้าเต็มกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าของบริษัทฯ บริหารจัดการน้ำด้วยการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในปีที่ผ่านมาไม่พบปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต หรือใช้แหล่งน้ำของชุมชนรอบโรงไฟฟ้า

  4. ความเสี่ยงจากความล่าช้าของโครงการโรงไฟฟ้า

    บริษัทฯ ตระหนักถึงความเสี่ยงของการพัฒนาโครงการก่อนที่โรงไฟฟ้าชีวมวลจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ โดยอาจมีความเสี่ยงในการดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามแผนการ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความล่าช้าอันเนื่องมาจากกระบวนการขอใบอนุญาตต่างๆ ของหน่วยงานราชการ ความล่าช้าจากการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ของผู้รับเหมาก่อสร้างแบบเบ็ดเสร็จ (EPC Contractor) ปัญหาความขัดแย้งกับชุมชน หรือปัญหาจากภัยธรรมชาติ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลกระทบถึงระยะเวลาดำเนินการ และ/หรือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าที่ประมาณการณ์เอาไว้ (Cost Overrun) ซึ่งจะมีผลกระทบทำให้บริษัทไม่สามารถรับรู้รายได้ตามแผนการ และส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมายในที่สุด ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้กำหนดมาตรการในการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว อาทิ การจัดทำคู่มือที่อธิบายถึงขั้นตอนการขอใบอนุญาตต่างๆ รวมทั้งเอกสารและข้อมูลที่สำคัญที่ต้องนำส่งในแต่ละขั้นตอน เพื่อความถูกต้องครบถ้วนและรวดเร็วในการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนของการยื่นขอใบอนุญาตต่างๆ โดยบริษัทฯ มีกระบวนการคัดเลือกบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งพิจารณาจากความพร้อมของผู้รับเหมาแต่ละราย ได้แก่ ผลงานก่อสร้างในอดีต ประสบการณ์ ความชำนาญในงานก่อสร้างลักษณะเดียวกัน ประกอบกับความรู้ด้านเทคโนโลยี พร้อมทั้งพิจารณาฐานะทางการเงินของบริษัทผู้รับจ้าง อีกทั้งการปรับประกันผลงานภายหลังการก่อสร้าง ซึ่งบริษัทได้มีขั้นตอนในการประกวดราคาเปรียบเทียบระหว่างผู้รับเหมาที่เข้ามายื่นข้อเสนอรับงานก่อสร้างจากบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทฯ ได้ว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีคุณภาพในระดับราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม รวมถึงการทำสัญญาอย่างรัดกุม และอาจรวมถึงการให้ผู้รับเหมารับประกันประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการผลิตไฟฟ้า การสื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชนใกล้เคียงโดยรอบ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน การทำสัญญาประกันภัยเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติรวมทั้งบริษัทฯ จะทำการว่าจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเพื่อบริหารงานโครงการและงานก่อสร้าง โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุม ตรวจสอบและติดตามความคืบหน้าของโครงการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด หากเกิดกรณีการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง จะมีอัตราค่าปรับตามสัญญากำหนด

    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกในปี 2563 บริษัทได้ประสบปัญหาความล่าช้าในการนำเข้าและติดตั้งเครื่องจักรจากต่างประเทศ เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายประเทศต้องระงับการเดินทางเข้า-ออกของประชาชน ทำให้ทีมผู้รับเหมาต่างชาติไม่สามารถเดินเข้าไทยได้ และส่งผลให้มีความล่าช้าในการ COD ของโรงไฟฟ้าPTG TPCH1 TPCH2 และ TPCH5 เนื่องจากต้องมีทีมผู้รับเหมาของบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรเข้ามาควบคุมการติดตั้ง ควบคุมการเดินเครื่อง และตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องจักรที่โครงการก่อสร้าง บริษทั ฯ ได้แก้ไขสถานการณ์โดยการตรวจสอบเครื่องจักรบางส่วนผ่าน VDO conference call และประชุมผ่าน Zoom ฯลฯ อีกทั้งยังจัดจ้างบริษัทภายในประเทศที่มีประสบการณ์ในการตรวจสอบเครื่องจักรนั้นๆ มาควบคุมการเดินเครื่องและประสานงานกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักร เพื่อให้เกิดการล่าช้าของ COD เป็นไปได้น้อยที่สุด และลดความเสี่ยงที่จะทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหาย

  5. ความเสี่ยงจากการไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนตามเป้าหมายจากการดำเนินงานของบริษัทย่อย

    บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมความเสี่ยงในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่บริษัทประมาณการมีความคลาดเคลื่อนไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ บริษัทฯ จึงได้กำหนดให้ฝ่ายพัฒนาธุรกิจมีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าที่บริษัทฯ เข้าไปร่วมลงทุนอย่างสม่ำเสมอ โดยจะสรุปข้อมูลผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าให้กับฝ่ายพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ รวมทั้งวิเคราะห์ผลตอบแทนเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจที่บริษัทฯ เข้าไปลงทุนมีผลการดำเนินงานและประสิทธิภาพตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้กำหนดมาตรการและแนวทางดำเนินการเพื่อป้องกันความเสี่ยงในเรื่องนี้ เช่น

      • กำหนดนโยบายในการบริหารงานในบริษัทย่อย โดยมอบหมายให้กรรมการ และ/หรือ ผู้บริหารของบริษัทฯ เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทย่อยโดยมีจำนวนไม่น้อยกว่าสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม (แล้วแต่กรณี) นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้แต่งตั้งผู้แทนของบริษัทฯ เข้าดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในบริษัทย่อยด้วย
      • บริษัทฯ สามารถเข้าถึงข้อมูลการดำเนินการของโรงไฟฟ้าตลอดเวลาด้วยระบบ Real Time Monitoring และบริษัทฯ จะได้รับรายงานประจำวันจากผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้า ซึ่งทำให้ฝ่ายพัฒนาธุรกิจสามารถจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยเสนอต่อผู้บริหารและคณะกรรมการของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขได้อย่างเหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์
      • มอบหมายให้ผู้ตรวจสอบภายในของบริษัทฯ เข้าตรวจสอบกิจกรรมต่างๆ ในบริษัทย่อยอย่างสม่ำเสมอตามแผนการตรวจสอบประจำปี (Audit Plan) เพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่าบริษัทย่อยมีระบบควบคุมภายในที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
  6. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่

    โครงการโรงไฟฟ้าในปัจจุบันของบริษัทฯ มีลูกค้ารายใหญ่ คือ กฟภ. และกฟผ. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่รับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด ตามสัญญาซึ้อขายไฟฟ้า ซึ่งได้กำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคารับซื้อไว้อย่างแน่นอนในแต่ละช่วงเวลา ตามนโยบายการสนับสนุนการผลิตและการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน เช่นเดียวกันผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนรายอื่นๆ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีการควบคุมการปฎิบัติงานของโรงไฟฟ้าที่บริษัทเข้าไปลงทุนให้เป็นไปตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าอย่างเคร่งครัด รวมถึงปฎิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและข้อกำหนดอื่นๆ ที่การไฟฟ้ากำหนดเพื่อให้ บริษัทฯ มีคุณสมบัติครบถ้วนตามสัญญา และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  7. ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ การต่อต้านของมวลชนในพื้นที่ และการก่อวินาศกรรม

    ในการประกอบธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ มีโอกาสจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นจากเครื่องจักรหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ รวมทั้งมีความเสี่ยงที่เกิดจากการต่อต้านของชุมชนเนื่องจากทัศนคติของชุมชนที่มีต่อโรงไฟฟ้าหรือกระบวนการผลิตอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน โดยอาจมีสาเหตุมาจากอายุการใช้งานของตัวโรงไฟฟ้า การปฏิบัติงานของบุคลากร นอกจากนี้โรงไฟฟ้าอาจเป็นเป้าหมายของการก่อวินาศกรรม

    บริษัทฯ เชื่อว่าจากมาตรการที่มีอยู่และการเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แนวโน้มของความเสี่ยงในประเด็นนี้จึงมีไม่มาก อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารได้กำหนดมาตรการต่างๆ และให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันและลดโอกาสในการเกิดความเสี่ยงดังกล่าว ดังนี้

    • การเน้นย้ำกับผู้ปฏิบัติงาน (หรือผู้รับจ้างบริหารโรงไฟฟ้า) อย่างสม่ำเสมอถึงความไม่ประมาท เพราะเชื่อว่าความประมาทเพียงเล็กน้อยอาจนำมาซึ่งความเสียหายที่ประมาณค่ามิได้
    • การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อให้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์นั้นๆ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบโรงไฟฟ้าและการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ และส่วนราชการท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันทุกฝ่าย
    • การกำหนดแผนการรักษาความปลอดภัยและแผนฉุกเฉิน การติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ระบบกล้องวงจรปิด รวมทั้งการฝึกซ้อมเป็นประจำ
    • การจัดทำประกันภัยโรงไฟฟ้าที่ครอบคลุมในเรื่อง All Risks, Machinery Breakdown, Business Interruption และ Third Party Liability เพื่อความมั่นใจว่าหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจะได้รับความคุ้มครองอย่างพอเพียงและเหมาะสม
  8. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐ และองค์กรกำกับดูแล

    ความไม่แน่นอนของเสถียรภาพทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานภาครัฐ จากฝ่าย การเมืองที่เข้ามากำกับดูแล อาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย กฎหมาย หรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาจทำให้ บริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนในการเปิดประมูลโครงการโรงไฟฟ้า และไม่สามารถกำหนดระยะเวลาของการเปิดประมูลได้ โดยต้องเป็นไปตามนโยบายและการบริหารของภาครัฐ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และหน่วยงานภาครัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของบริษัทฯ ในระยะยาว

  9. ความเสี่ยงจากภาวะการแข่งขัน

    การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าในปัจจุบันจะต้องรอคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ออกประกาศการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยใช้วิธีการคัดเลือกการแข่งขันทางด้านราคา (Competitive Bidding) โดยจะพิจารณาราคา คุณสมบัติทางเทคนิคและวิศวกรรม ฐานะทางการเงินของผู้เข้าร่วมประมูล ความพร้อมด้านที่ดิน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ประวัติการดำเนินงาน รวมถึงคุณสมบัติและเงื่อนไขอื่นๆ ซึ่งส่งผลให้บริษัทประสบภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจจะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของบริษัทฯ ที่จะขยายการลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้าในอนาคต

    อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าบริษัทฯ มีศักยภาพเพียงพอในการเข้าร่วมประมูลโครงการโรงไฟฟ้าในอนาคตเนื่องจากบริษัทฯ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ มีคุณสมบัติด้านเทคนิคและความพร้อมในการดำเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ มีประสบการณ์ดำเนินงานโรงไฟฟ้าในบริษัทย่อยกว่า 13 แห่ง อีกทั้งความได้เปรียบด้านเชื้อเพลิงที่สามารถใช้เชื้อเพลิงได้หลากหลาย และได้ร่วมลงทุนโครงการโรงไฟฟ้ากับเจ้าของเชื้อเพลิงโดยตรง เพื่อสามารถเข้าถึงแหล่งเชื้อเพลิงขนาดใหญ่และเพียงพอสำหรับโรงไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งบริษัทฯ มีการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) ก่อนการยื่นประมูลโครงการใหม่เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการที่ลงทุนนั้น จะได้รับผลตอบแทนตามเป้าหมายของบริษัทฯ

    อย่างไรก็ตาม เพื่อลดผลกระทบจากความเสี่ยงข้างต้น บริษัทฯ ได้เข้าไปลงทุนในส่วนของการซื้อกิจการโรงไฟฟ้าและซื้อใบอนุญาตโรงไฟฟ้าจากผู้ประกอบการรายอื่น (โครงการ PBB และ PBM) ที่สามารถมีการพัฒนาโครงการต่อได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอการประกาศการรับซื้อจากทางภาครัฐ อีกทั้งบริษัทฯมีแผนขยายการลงทุนในต่างประเทศ รวมทั้งพิจารณาพลังงานหมุนเวียนทางเลือกชนิดอื่น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ฯลฯ

  10. ความเสี่ยงการลงทุนในต่างประเทศ

    บริษัทฯ มีแผนที่จะขยายการลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าทั้งในประเทศ และต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงของการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ในต่างประเทศ บริษัทจึงมีการกำหนดมาตรการในการคัดเลือกโครงการลงทุน และผู้ร่วมลงทุนอย่างรอบคอบ ทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านเศรษฐกิจการเมือง สังคมของประเทศที่จะร่วมลงทุน และนำสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ต้นทุนทางการเงิน ต้นทุน เครื่องจักรอุปกรณ์ และต้นทุนการก่อสร้าง รวมถึงมาตรการข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนและผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนนั้นๆ นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป (Sensitivity Analysis) ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับโครงการดังกล่าว เพื่อเตรียมหาแนวทางป้องกันความเสี่ยงไว้ล่วงหน้า เนื่องจากจะส่งผลโดยตรงต่อการประกอบธุรกิจในต่างประเทศเป็นอย่างมาก

  11. ความเสี่ยงการลงทุนในต่างประเทศ

    การประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าของบริษัทย่อย อยู่ภายใต้กฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขผลกระทบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นของหน่วยงานของรัฐส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ซึ่งกฎหมายและกฎระเบียบดังกล่าวครอบคลุมถึงเรื่องการควบคุมมลพิษทั้งทางดิน น้ำ อากาศ และสารพิษ การกำจัดและจัดการขยะและของเสีย สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน และการจัดการวัตถุที่เป็นอันตราย ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวมีความซับซ้อน เปลี่ยนแปลงบ่อยและการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบดังกล่างบางกรณีขึ้นอยู่กับการตีความของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

    ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทได้ตระหนักถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโรงไฟฟ้า ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น ระบบการระบายสารออกจากโครงการ ระบบควบคุมมลสาร ระบบการจัดการน้ำเสีย ระบบกำจัดกากและของเสียโดยใช้ประโยชน์จากกากขี้เถ้าที่เหลือจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงมาแจกจ่ายให้กับชาวบ้านและชุมชนรอบข้างเพื่อใช้เป็นปุ๋ย ระบบดักจับฝุ่นละอองแบบลมหมุนวน (Multi-Cyclone) และระบบดักจับฝุ่นละอองแบบไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยยังมีการดำเนินการติดตามและตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกินขึ้นอย่างใกล้ชิด เพื่อให้กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าของบริษัทย่อยเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและลดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้โรงไฟฟ้าของบริษัทย่อยเป็นโรงไฟฟ้าเพื่อชุมชนโดยแท้จริง

2.ความเสี่ยงด้านการเงิน
  1. ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย

    การลงทุนของบริษัทฯ ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก โดยเงินลงทุนที่นำมาใช้ส่วนหนึ่งเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้เงินกู้ในรูปแบบวงเงินกู้สินเชื่อโครงการระยะยาว (Project Finance) โดยมีอัตราส่วนเงินกู้ต่อทุนโดยประมาณตั้งแต่ 2:1 จนถึง 3:1 และส่วนใหญ่กำหนดเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Interest Rate) ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าของบริษัทย่อยได้ใช้เงินกู้ในรูปแบบเดียวกัน ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีเงินกู้ระยะยาวจำนวน 2,996.43 ล้านบาท ที่มีเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวที่อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง และส่งผลกระทบต่อต้นทุนทางการเงินของบริษัทฯ

    บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าว โดยในช่วงการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Project Feasibility) บริษัทฯ ได้ศึกษาถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในกรณีต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนมาก เพื่อประเมินถึงผลกระทบทางการเงินก่อนการตัดสินใจที่จะลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งอย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีการติดตามการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย และอาจพิจารณาทางเลือกจากแหล่งเงินกู้อื่นๆนอกจากสถาบันการเงิน เช่น การออกตราสารหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยได้ เป็นต้น

3.ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสิทธิหรือการลงทุนของผู้ถือหุ้น
  1. ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักจากการถือหุ้นไม่ถึงร้อยละ 50 และ ร้อยละ 75

    เนื่องจากบริษัทฯ มีลักษณะการประกอบธุรกิจเป็น Holding Company ไม่มีการประกอบธุรกิจหลักเป็นของตนเอง โดยที่รายได้หลักของบริษัทฯ จะเป็นเงินปันผลมาจากบริษัทย่อย ซึ่งการมีมติจ่ายเงินปันผลในแต่ละบริษัทต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมาก นอกจากนี้การเข้าทำรายการที่สำคัญรวมถึง การเพิ่มทุน การลดทุน และการซื้อหรือขายกิจการ ซึ่งต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เช่นกัน ดังนั้น บริษัทฯ อาจได้รับความเสี่ยงจากการที่บริษัทฯ ไม่สามารถควบคุมสิทธิในการออกเสียงจนได้รับมติที่สำคัญดังกล่าวในบริษัทย่อยได้ ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 บริษัทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อยที่น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 ได้แก่ MGP SP PA และที่น้อยกว่าร้อยละ 75 ได้แก่ CRB TSG PTG PGP SGP PBB และ PBM

    จากสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อย บริษัทฯ มีสัดส่วนจำนวนกรรมการไม่น้อยกว่าสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อยทุกแห่ง และสามารถใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นควบคุมเสียงข้างมากในบริษัทย่อยทุกแห่งซึ่งจะสามารถควบคุมวาระสำคัญเรื่องการอนุมัติการจ่ายเงินปันผลได้ ยกเว้นบริษัทที่มีอำนาจควบคุมร่วมกันคือ MGP PA และ SP อย่างไรก็ดี ในด้านการบริหารงานนั้น ข้อบังคับของบริษัทย่อยทุกแห่งได้ถูกกำหนดให้แต่ละบริษัทดำเนินตามนโยบายที่บริษัทฯ กำหนดไว้